ภาพและคำบรรยายโดย: แมท ฮันต์
“ปัจจุบันนี้ พวกเขา (ตำรวจ) ถูกผู้ก่อความไม่สงบเข่นฆ่าด้วยอาวุธปืนที่ด่านตรวจ โดยพวกเขาจะออกมาในกลางดึก ยิงตำรวจเสียชีวิตแล้วชิงเอาปืนไปเพื่อสร้างคลังแสงอาวุธของพวกเขาแล้วนำมาเข่นฆ่าเจ้าหน้าที่มากยิ่งขึ้น มันทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก”
จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงท่านหนึ่งที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ – สิงหาคม 2566
สามจังหวัดภาคใต้ของไทย—ยะลา นราธิวาส และ ปัตตานี—ได้ตกอยู่ในเหตุการณ์การก่อความไม่สงบที่ดำเนินมาเกือบสองทศวรรษ
รากเหง้าของความไม่สงบมีต้นกำหนดย้อนกลับไปในต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อประเทศไทยผนวกดินแดนที่มีประชากรเป็นมุมลายูสลิมเป็นส่วนใหญ่ซึ่งรู้จักในนามว่า สุลต่านปัตตานีอิสระหรือรัฐปัตตานี หลังจากนั้นหลายทศวรรษต่อไป ความตึงเครียดก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการนำเอานโยบายจากส่วนกลางมาบังคับใช้พื้นที่และการเลือกปฏิบัติต่อประชากรมลายูมุสลิมที่อาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศไทยในปัจจุบัน
ภูมิภาคนี้มีวัฒนธรรมและศาสนาที่ผูกพันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ทำให้มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพุทธในภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ การส่งเสริมพุทธศาสนาและการรวมศูนย์อำนาจของรัฐบาลไทยไว้ที่กรุงเทพฯได้จุดชนวนให้เกิดความตึงเครียดทางวัฒนธรรมและศาสนาในพื้นที่ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมในหลากหลายรูปแบบ
ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม
การแบ่งแยกทางวัฒนธรรมและศาสนาได้ก่อให้เกิดความแปลกแยกและถูกละเลยในหมู่ประชากรชาวมลายูมุสลิม ทำให้พวกเขามีความโน้มเอียงที่จะใช้ความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าจะมีช่วงเวลาที่ค่อนข้างสงบ แต่แล้วความรุนแรงก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจายไปทั่ว โดยได้รับปัจจัยหนุนต่าง ๆ เช่น การขาดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเพียงพอและการกระจายทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกัน
การสถาปนากลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดยเฉพาะขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (BRN) ในปี 2506 ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในความขัดแย้ง โดยพวกเขามุ่งสู่การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ขบวนการเหล่านี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามกองโจรและได้อ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีหลายครั้งด้วยกัน โดยมักจะมุ่งเป้าไปที่กองกำลังรักษาความปลอดภัย โรงเรียน และสถานที่ราชการ มาตรการโต้ตอบของรัฐบาลมีหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการส่งกำลังรักษาความมั่นคงลงพื้นที่ ประกาศกฎอัยการศึก และออกพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มเติม
ในปี 2547 รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรมีบทบาทสำคัญในการประกาศพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย แนวทางการรับมือกับการก่อความไม่สงบของทักษิณที่เด่นชัดคือ การตอบโต้อย่างหนักหน่วง ซึ่งรวมถึงรวมถึงการรณรงค์ “สงครามต่อต้านยาเสพติด” ที่เป็นที่ถกเถียงกัน ซึ่งนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและมีผู้เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุกว่า 3,000 ราย
แนวทางของทักษิณได้เพิ่มความตึงเครียดและกระตุ้นให้เกิดการก่อความไม่สงบมากยิ่งขึ้น จุดผูกผันมาจากเดือนเมษายน ปี 2547 เมื่อมัสยิดกรือเซะในจังหวัดปัตตานีถูกกองกำลังความมั่นคงของไทยบุกโจมตี ส่งผลให้มีชาวมุสลิม 32 รายที่หลบซ่อนตัวอยู่ในมัสยิดระหว่างเผชิญหน้ากันถูกฆ่าตาย เหตุการณ์นี้เรียกว่าเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ อันนำไปสู่ความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมาก รัฐบาลไทยจึงถือโอกาสนี้ในการประกาศพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548
พระราชกำหนดนี้มีการต่ออายุทุกๆ 3 เดือน และมีผลใช้บังคับมาแล้วเป็นเวลา 18 ปี โดยให้อำนาจรัฐบาลอย่างกว้างขวางในการควบคุมและปราบปรามการก่อความไม่สงบอย่างกว้างขวาง พร้อมกันนี้ยังก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการขาดความโปร่งใสในพื้นที่
สัญญาณที่เด่นเจนที่สุดของพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งคือด่านตรวจ โดยมีด่านตรวจทั่วทั้งสามจังหวัดภาคใต้โดยเฉพาะภายในเมือง ดังเช่นการทำงานในจังหวัดยะลาจะต้องผ่านด่านตรวจที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมอาวุธวันละ 5-10 ครั้งเป็นอย่างน้อย
ด่านตรวจเหล่านี้เป็นเป้าหมายก่อความรุนแรงของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ตามด่านตรวจมักจะมีอายุ 20 ต้นๆ มีจิตใจอ่อนโยน และมองยังไงก็ไม่เหมือนคนที่คุณคิดว่าจะต้องถือปืนกลอัตโนมัติขณะยืนโบกรถที่ผ่านไปมา
ภาพถ่ายเชิงสารคดีต่อไปนี้ถ่ายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี ในเดือนสิงหาคม 2566 ลิขสิทธิ์ของภาพเหล่านี้เป็นของช่างภาพ แมท ฮันต์ และลิขสิทธิ์เพิ่มเติมของภาพบางภาพได้โอนให้แก่ Anadolu Ajansi ผู้ซึ่งให้การสนับสนุนการรายงานข่าวของผมในฐานะนักข่าวอิสระอย่างเต็มที่ในปีนี้ และมอบสิทธิ์ให้ใช้ภาพเหล่านั้นผ่านทางเว็บไซต์ของพวกเขา
ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม