*ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ: คำแนะนำนี้อิงจากประสบการณ์ของผมเองกับการขอรับทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนสีชมพูในประเทศไทย กฎและระเบียบที่มักจะถูกตีความแตกต่างกันไปตามหน่วยงานท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด สิ่งที่คุณจะประสบนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณอาศัยอยู่ที่ไหนและใครทำงานในสำนักงานปกครองในท้องถิ่นนั้น
ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม
สรุป
สำหรับบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้น มันจะเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับการอาศัยอยู่ที่นี่ที่ต้องเผชิญกับระบบราชการที่ซ้ำซาก คุณจะต้องเจอกับงานเอกสารที่ต้องกรอกแล้วกรอกอีก ทำสำเนา และขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนอย่างไม่ต้องสงสัย
การที่สามารถผ่านหน่วยงานราชการได้แต่ละด่านถือเป็นความท้าทายและประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร บ่อยครั้งที่งานเอกสารที่กองพะเนินของหน่วยงานราชการนั้นมักจะเป็นเพราะเอกสารแต่ละอย่างที่เพิ่มมานั้นนำไปใช้กับหน่วยงานต่างประเทศที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานหนึ่งเพียงจุดเดียว
ลูกจ้างที่ไม่ใช่คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมักจะได้ประโยชน์จากบริษัทที่ให้บริการรับทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน อย่างไรก็ตาม ในฐานะเจ้าของธุรกิจ เอกสารที่ต้องใช้ทั้งสำหรับธุรกิจและส่วนตัวเพิ่มขึ้นเกือบสิบเท่าตัว
ไม่ว่าสถานะการจ้างงานและ/หรือการอยู่อาศัยของคุณจะเป็นอย่างไร สำหรับผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยแล้ว การตรวจสอบที่อยู่อาศัยในราชอาณาจักรมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอย่างที่เห็นกันทั่วไป เช่น
- การขอใบอนุญาตขับขี่
- กาจดทะเบียนบริษัท
- การเปิดบัญชีธนาคารหรือเปลี่ยนที่อยู่กับทางธนาคาร
- การยื่นขอสินเชื่อ
- การซื้อรถ
การได้รับบัตรประจำตัวที่ “ยืนยันแล้ว” รูปแบบหนึ่งถือเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล บัตรนี้ก็คือรูปแบบบัตรประจำตัวที่คุณต้องแสดงเป็นหลักฐานเพื่อพิสูจน์ที่อยู่ตามกฎหมายแล้ว คุณก็ไม่ต้องได้รับหนังสือคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรหรือใบรับรองเพื่อพิสูจน์ถิ่นที่อยู่ของคุณอีก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้ว ถ้าคุณได้รับหนังสือคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อทำใบอนุญาตของคุณ เช่น กรมการขนส่งจะเก็บต้นฉบับไว้ ดังนั้นเมื่อคุณต้องการยืนยันที่อยู่ของคุณอีกครั้ง คุณก็ต้องขอหนังสือรับรองคำให้การหรือหนังสือรับรองที่อยู่อีกครั้ง มันกลายเป็นต้นทุนมหาศาลทั้งทางด้านเวลาและเงินทอง โดยเฉพาะถ้าคุณดำเนินธุรกิจของคุณเอง
สำหรับผมโดยปกติแล้วผมจะต้องนัดหมายกับสถานทูตสหรัฐเพื่อทำหนังสือคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรที่ระบุที่อยู่ตามกฎหมายของผม การนัดหมายเหล่านี้มักจะเป็นเรื่องที่ท้าทายโดยเฉพาะกับสถานการณ์ที่ต้องการการยืนยันอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 หน่วยงานบริการพลเมืองอเมริกัน (American Citizen Services (ACS)) ได้หยุดทำงานใด ๆ ที่เห็นว่าไม่จำเป็น แม้แต่การประทับตราคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสูงริบถึงหน้าละ 50 ดอลลาร์ก็ตาม
เข้าสู่เรื่อง การขอรับทะเบียนบ้านเล่มเหลือง + บัตรประชาชนสีชมพูในประเทศไทย
ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองคืออะไร
ทะเบียนบ้านเป็นสมุดเล่มเล็กที่ออกโดยรัฐบาลท้องถิ่นที่ระบุว่าใครอาศัยอยู่ในบ้าน ทาวน์โฮม หรือคอนโดนั้น สำหรับคนไทย จะเป็นเล่มสีน้ำเงิน สำหรับบุคคลไม่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทะเบียนบ้านจะเป็นสีเหลืองและมีลักษณะดังนี้
ตามภาษาราชการ เอกสารนี้เรียกว่า
- “ทะเบียนบ้าน”
- ท.ร.13
ทำไมทะเบียนบ้านเล่มเหลืองจึงมีความจำเป็น
แน่นอนว่ามีวิธีอื่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องมีทะเบียนบ้าน แต่ถ้าคุณมีความจำเป็นต้องยืนยันที่อยู่ของคุณเป็นประจำ และไม่อยากเดินทางไปมาสถานทูตบ่อยๆ เพื่อรับหนังสือคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรหรือใบรับรองถิ่นที่อยู่ ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนี้จะมีประโยชน์มากทีเดียว
ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองซี่งไม่มีการหมดอายุนี้เป็นที่ยอมรับเป็นรูปแบบการยืนยันตัวตนรูปแบบหนึ่งโดยมีชื่อและที่อยู่ตามกฎหมายของคุณพิมพ์อยู่ในนั้นด้วย ดังนั้น เมื่อคุณมีทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนี้ (และบัตรประจำตัวประชาชน) คุณก็ไม่จำเป็นต้องขอหนังสือคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรหรือใบรับรองถิ่นที่อยู่อื่นใดเพื่อพิสูจน์ที่อยู่ของคุณในประเทศไทยอีก
ขอรับทะเบียนบ้านเล่มเหลือง + บัตรประชาชนสีชมพูได้อย่างไร
การขอรับทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนั้นไม่ง่ายเหมือนเพียงไปปรากฎตัวที่อำเภอแล้วมอบเอกสารตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ นี่คือรายการเอกสารที่จำเป็นในการยื่นของทะเบียนบ้าน
ทางอำเภอจะมีเอกสารใด ๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษให้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคุณ นี่คือรายชื่อเอกสารที่จำเป็น (ดูภาพประกอบข้างต้น)
- หลักฐานประกอบการเพิ่มชื่อ
- หนังสือเดินทาง ให้สถานทูตประเทศนั้นๆ ให้การรับรอง พร้อมการรับรองคำแปล ที่กองสัญชาติ และนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ
- พยานบุคคล 2 คน ญาติ อายุเกิน 25 ปี พร้อมสำเนา บัตร (พยาน 1 ใน 2 คน สามารถเป็นล่ามได้)
- 3.สำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อ
- สูติบัตร
- ใบสำคัญการสมรส / หย่า / บันทึกฐานะครอบครัวฯ
- ใบสำคัญถิ่นที่อยู่
- ใบอนุญาตทํางาน
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
- สัญญาซื้อขายห้องชุดตัวจริง พร้อมสำเนาโฉนด
- ใบแปลงสัญชาติไทยและประกาศราชกิจจานุเบกษา
- ใบอนุญาตให้ได้สัญชาติไทย
- รูปถ่ายหน้าตรง 1.5 นิ้ว จำนวน 4 รูป
- รูปถ่ายให้เห็นหน้าบ้าน ในบ้าน ตัวบ้าน พร้อมตัวผู้ร้อง จำนวน 2 -3 รูป
- หลักฐานสำคัญแสดงความสัมพันธ์ครอบครัว
- อื่นๆ (การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล)
รายการที่ทำเครื่องหมายไว้คือรายการที่ผมต้องยื่น
การขอรับทะเบียนบ้านเล่มเหลืองมีขั้นตอนอะไรบ้าง
สิ่งแรกที่ต้องทำคือขอให้สถานทูตของคุณรับรองหนังสือเดินทางของคุณ หากคุณมีสำเนาหนังสือเดินทางฉบับจริงที่ได้รับการรับรองที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ยื่นขอ คุณก็สามารถใช้สำเนานั้นได้ ถ้าเกิน 6 เดือนก็จะถูกปฏิเสธ
ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม
ขั้นต่อไป คุณต้องแปลสำเนาหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองแล้วจากกระทรวงการต่างประเทศ (เท่านั้น) เนื่องจากทางกระทรวง ฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแปล แม้กระทั่งคำบนตราประทับและตราประทับของสถานทูต
มีบริการแปลเอกสารมากมายในกรุงเทพฯ ครั้งแรกที่ผมเขียนบทความนี้ ผมไปที่ร้านแห่งหนึ่งแถวสถานีรถไฟฟ้า BTS คลองเตย ซึ่งร้านตั้งอยู่ในสถานีรถไฟฟ้า BTS นั่นเอง
คุณสามารถแปลหนังสือเดินทางของคุณได้ที่นี่ ก่อนที่จะนำไปที่สำนักงานกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้า MBK เพื่อรับรองเอกสาร ค่าแปลเอกสาร 500 บาท และการรับรองหนังสือเดินทางโดยกระทรวงการต่างประเทศอีก 500 บาท กระทรวงการต่างประเทศใช้เวลา 3 วัน ในการดำเนินการและรับรองหนังสือเดินทางที่แปลแล้วของคุณ หากคุณส่งเอกสารไปที่สำนักงานก่อน 10.00 น. คุณสามารถรอรับได้ในบ่ายวันเดียวกัน โดยเสียค่าธรรมเนียมเร่งด่วน
เมื่อคุณได้เอกสารทั้งหมดครบแล้ว ให้วางตามลำดับตามที่แจ้งไว้ข้างต้น
การยื่นเอกสาร
คุณต้องไปอำเภอ (สำนักงานเขต) ที่ใกล้กับที่ที่คุณพักอาศัยมากที่สุดเพื่อยื่นของทะเบียนบ้านเล่มเหลือง สำหรับผม ยื่นที่เขตพระโขนง ดังรูป
ครั้งแรกผมพยามยามยื่นเอกสาร แต่ผมก็ยังขาดเอกสารหลายอย่าง เจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องนี้บอกผม อะไรที่ยังขาดและอะไรที่จะต้องนำกลับมา จนครั้งที่สอง ผมมีเอกสารที่ต้องการครบถ้วนและพาพยานคนไทยสองคนมาด้วย หนึ่งในนั้นเป็นเจ้าของบ้าน อีกคนเป็นหุ้นส่วนของผม ทั้งสองคนต่างก็นำสำเนาบัตรประชาชนพร้อมเซ็นรับรองมาด้วย
เมื่อเรายื่นเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมถูกซักถามเกี่ยวกับตัวผม ภูมิหลังเกี่ยวกับตัวผมเป็นชุด เช่น
- กรุ๊ปเลือด
- วันที่ที่เดินทางมาประเทศไทยครั้งแรก (สำหรับผม 5 ปีก่อน)
- ชื่อพ่อแม่ และพี่น้อง
- สถานที่เกิด รวมทั้งชื่อเมือง รัฐ
หลังจากที่ตอบทุกคำถามแล้ว เจ้าหน้าที่บอกเราว่าจะตรวจสอบเรื่องนี้และผมจะได้รับการติดต่อกลับภายใน 1 เดือนเพื่อกลับมาอีกครั้งและสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์
เหมือนตั้งนาฬิกาไว้ เจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการเรื่องการขอทะเบียนบ้านของผมได้โทรกลับมาหลังจากหนึ่งเดือนและบอกให้ผมกลับมาพร้อมหนังสือเดินทางตัวจริง ใบอนุญาตทำงานและพยานคนไทยตามวันเวลาที่กำหนด
เมื่อเรากลับมาที่ที่ว่าการเขต พยานคนไทยของผมถูกแยกนำตัวไปสัมภาษณ์ว่าผมเป็นใคร ทำอะไรในประเทศไทย (ทำงานหรือไม่) และถามคำถามพื้น ๆ อีกสองสามคำถามเกี่ยวกับครอบครัวและบุคลิกของผม
จากนั้นผมถูกนำตัวไปอีกที่และสัมภาษณ์เรื่องเดียวกันเป็นภาษาไทย มันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่การรู้ภาษาไทยเป็นสิ่งสำคัญในตอนนี้
เมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้ว พวกเขาบอกผมทันทีว่าคำขอผมได้รับการอนุมัติแล้ว ภายในหนึ่งชัวโมง ผมก็ได้รับทะเบียนบ้านเล่มเหลืองและบัตรประชาชนสีชมพู ทะเบียนบ้านไม่มีการหมดอายุ และบัตรประชาชนสีชมพูมีอายุ 10 ปีนับจากวันที่ที่ออก ทั้งทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนไม่ต้องเสียเงินเลย
ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนสีชมพูที่ออกบัตรให้คือ ผู้ที่ได้รับบัตรจะได้รับหมายเลขประจำตัวประชาชน (13 หลัก) จากนั้น เลขประจำตัวนี้จะถูกนำไปใช้แทนบนใบอนุญาตขับขี่ ใบอนุญาตทำงาน ฯลฯ ซึ่งใช้แทนเลขหนังสือเดินทางเดิมของคุณ พร้อมกันนั้นคุณจะได้ชื่อตามกฎหมายเป็นภาษาไทยด้วย
มันมีประโยชน์หรือไม่
การมีทะเบียนบ้านเล่มเหลืองและบัตรประชาชนสีชมพูมีประโยชน์สำหรับผมแน่นอน
ตั้งแต่ได้รับการออกเอกสารเหล่านี้ ความยุ่งยากต่าง ๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบที่อยู่ของผมก็หมดไป หลังจากย้ายบ้านและเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนบริษัท การยืนยันที่อยู่ได้ง่ายกว่าเดิมถึง 10 เท่าด้วยเอกสารที่ผมเพิ่งกล่าวมา
หากคุณมีคำถามใด ๆ กรุณาติดต่อผมได้ที่นี่
ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม