ขึ้นทะเบียนโดรนในไทย (2566)

อัปเดต: ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นไป สามารถขึ้นทะเบียนโดรนในประเทศไทยได้ทางออนไลน์กับ กสทช. ที่ https://bit.ly/3azEvRV

อัปเดดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 กสทช.ยืนยันว่าจะต้องใช้วีซ๋าที่ยังมีผลใช้ได้ หรือการเข้าประเทศโดยได้รับการยกเว้นวีซ่าในการขึ้นทะเบียนโดรนสำหรับนักท่องเที่ย



ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม


ในบรรดางานที่ (จำเป็นต้อง) ติดต่อราชการที่ผมทำสำเร็จในประเทศไทยนั้น การขึนทะเบียนโดรนเป็นงานที่ง่ายที่สุด

กล่าวโดยย่อคือ ทุกคนที่บังคับโดรนจะต้องมีเอกสารสามอย่างเพื่อบินโดรนได้อย่างถูกกฎหมาย นั่นคือ

ก่อนที่จะลงรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็นในการขอใบอนุญาตการบินโดรนนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องเน้นย้ำคือกฎเกี่ยวกับการบินโดรนในประเทศไทย

ในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้นั้น กฎหมายฉบับปัจจุบันระบุว่า

(ที่มา: https://uavcoach.com/drone-laws-in-thailand/)

ตามข้อกำหนดข้างต้น มีความเป็นไปได้ 100% ที่คุณจะต้องขึ้นทะเบียนโดรนส่วนตัวของคุณเพื่อบินในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมาย

การซื้อโดรน

สามารถหาซื้อโดรนในประเทศไทยได้หลายวิธีด้วยกัน คุณสามารถซื้อโดรนมือสองผ่านทางกลุ่มในเฟสบุ๊ค รวมทั้งใน Lazada หรือ Shopee โดยส่วนตัวแล้ว ผมจะซื้อจากแหล่งที่ผมจะได้รับการรับประกันที่ดีเสมอ

บางร้านที่ให้การรับประกันพร้อมกับการซื้อ (รวมทั้งผ่อนดอกเบี้ย 0% ด้วยถ้าคุณมีบัตรเครดิตที่ออกในประเทศไทย) เช่น

ถ้าคุณต้องการซื้อจากตัวแทนท้องถิ่น มีตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งหลายแห่งในกรุงเทพฯที่ขายโดรนพร้อมการรับประกันด้วย ยกตัวอย่างเช่น Phantom Thailand ผู้ค้ารายย่อยที่ขายของออนไลน์และมีหน้าร้านบนชั้น 5 เซ็นทรัลเวิร์ล กรุงเทพฯ

การขึนทะเบียนโดรนในประเทศไทย (กับกสทช.)

ขั้นตอนแรก (และเร็วที่สุด) ในการได้รับอนุญาตบินโดรนได้อย่างถูกกฎหมายคือ การขึ้นทะเบียนกับกสทช. ภาษาไทยเรียกว่าสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการกำกับและควบคุมการปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช.เขตในความรับผิดชอบของตน การออกใบอนุญาต การบังคับใช้กฎหมาย การตรวจสอบ ตรวจจับ และจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียง โทรคมนาคม และวิทยุกระจายเสียง สื่อสารตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนการส่งเสริมสิทธิและการรับเรื่องร้องทุกข์ของประชาชน ผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคกลาง และปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

จากเว็บไซต์ทางการของกสทช. ปัจจุบันมีสำนักงานภูมิภาค 4 แห่งที่ตั้งอยู่ทั่วราชอาณาจักร บางแห่งเป็นเขตย่อย (ดาวเทียม) สำนักงานของกสทช.คือ

แผนที่แสดงรายชื่อจังหวัดในเว็บไซต์ของกสทช. ถ้าคุณอาศัยอยู่ในจังหวัดที่ไม่อยู่ในรายชื่อ คุณสามารถอีเมลไปสอบถามว่าจังหวัดไหนที่ใกล้ที่สุดที่คุณสามารถติดต่อได้ หรือค้นหา 'กสทช.' ใน Google Maps
แผนที่แสดงรายชื่อจังหวัดในเว็บไซต์ของกสทช. ถ้าคุณอาศัยอยู่ในจังหวัดที่ไม่อยู่ในรายชื่อ คุณสามารถอีเมลไปสอบถามว่าจังหวัดไหนที่ใกล้ที่สุดที่คุณสามารถติดต่อได้ หรือค้นหา ‘กสทช.’ ใน Google Maps

ก่อนที่จะไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานกสทช.ที่ใกล้คุณที่สุดนั้น คุณควรจะกรอกเอกสารต่อไปนี้ให้เรียบร้อยก่อน

นอกจากแบบฟอร์มเหล่านี้แล้ว คุณยังต้องกรอกใบสมัครพร้อมกับหลักฐานต่อไปนี้


ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม


เมื่อคุณจัดเตรียมเอกสารที่จะเป็นทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว (พร้อมเซ็นชื่อที่ด้านล่างเอกสารทุกหน้า) ก็นำใบสมัครที่กรอกเรียบร้อยแล้วไปสำนักงานกสทช.ที่ใกล้บ้านที่สุด สำหรับผม อยู่ในกรุงเทพฯ สำนักงานตั้งอยู่ที่ซอยอารีย์ เขตพญาไท

สำนักงานนี้หาง่ายเพราะมันมีจานดาวเทียมจำนวนมากรอบสำนักงาน และตัวอาคารที่อยู่ตรงกลางก็สีแดงสด สำหรับการขึ้นทะเบียนโดรนนั้น ให้ไปอาคาร 2 ตามรูปข้างล่างนี้

สำนักงาน กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) กรุงเทพฯ
สำนักงาน กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) กรุงเทพฯ
สำนักงานใหญ่กสทช. กรุงเทพฯ
สำนักงานใหญ่กสทช. กรุงเทพฯ
สำนักงานใหญ่กสทช. อาคาร 2
สำนักงานใหญ่กสทช. อาคาร 2

เมื่อเข้าไปด้านในแล้ว ให้เดินไปที่เคาน์เตอร์ทางซ้ายซึ่งมีป้ายภาษาไทยต่าง ๆ เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ  ถ้าคุณกรอกแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วก็เดินไปยื่นที่เคาน์เตอร์ได้เลย

เคาน์เตอร์ขึ้นทะเบียนโดรนที่กสทช. กรุงเทพฯ ชั้น 1
เคาน์เตอร์ขึ้นทะเบียนโดรนที่กสทช. กรุงเทพฯ ชั้น 1
เคาน์เตอร์ขึ้นทะเบียนโดรนที่กสทช. กรุงเทพฯ ชั้น 1
เคาน์เตอร์ขึ้นทะเบียนโดรนที่กสทช. กรุงเทพฯ ชั้น 1

เจ้าหน้าที่ที่รับใบสมัครจะพลิกดูเอกสารทุกหน้าเพื่อความมั่นใจว่าคุณได้เตรียมครบทุกอย่าง (ตามที่แจ้งข้างต้น) ถ้าเตรียมครบ คุณก็สามารถขึ้นไปชั้น 2 เพื่อจ่ายค่าใบอนุญาต (214 บาท) ที่เคาน์เตอร์นี้

เคาน์เตอร์รับชำระเงินที่กสทช. ชั้น 2

เมื่อชำระเงินแล้ว ก็ให้นั่งรอที่ชั้นล่างโดยจะรอประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง พวกเขาจะดำเนินการกับใบสมัครของคุณและออกใบอนุญาตให้ในไม่ช้า (ถ้าคุณได้ส่งเอกสารที่จำเป็นครบทั้งหมด)

สำหรับบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย ใบอนุญาตที่ออกให้จะใช้ได้จนถึงวันที่ที่วีซ๋าหมดอายุ


การซื้อประกันความรับผิดชอบ

การบินโดรนในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายนั้น คุณจะต้องมีประกันความรับผิดขั้นต่ำ 1,000,000 บาท และบุคคลที่บินโดรนจะต้องมีรายชื่ออยู่ในกรมธรรม์

การซื้อประกันนั้นง่ายมากเพียงค้นในกูเกิลด้วยคำว่า “ประกันภัยโดรนในประเทศไทย” โดยส่วนตัวแล้ว ผมจะทำประกันอุปกรณ์ (โดรน และอื่นๆ) ผ่านบริษัท MSIG และ/หรือ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เสมอ

เบี้ยประกันที่ผมจ่ายคือ 4,500 บาทต่อปี ต่อโดรนหนึ่งลำ ซึ่งรวมถึงประกันความรับผิดชอบขั้นต่ำ 1,000,000 บาท และครอบคลุมค่าเปลี่ยนโดรนลำใหม่กรณีสูญหายหรือชำรุดเสียหายสูงสุด 30,000 บาท โดยรับผิดชอบส่วนแรก (deductible) 3,000 บาทต่อครั้ง 

ผมพบว่า การที่รู้จักใครบางคนเป็นการส่วนตัวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่าย ถ้าคุณอยากจะติดต่อกับตัวแทนประกันของผม ขอให้ส่งอีเมลมาหาผมได้ที่นี่


การขึ้นทะเบียนกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)

การขึั้นทะเบียนกับ CAAT เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำให้โดรนของคุณใช้งานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นี่เป็นการขอขึันทะเบียนออนไลน์ที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา ซึ่งสามารถดูได้ที่นี่ https://uav.caat.or.th/

การจดทะเบียนกับ CAAT เป็นเพียงส่วนเดียวของกระบวนการทั้งหมดที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก ตอนนี้ผมได้ทำสำเร็จมาสามครั้งแล้ว สองครั้งแรก ใช้เวลาประมาณ 4-5 อาทิตย์เพื่อรอให้ CAAT ออกใบอนุญาตให้

คุณต้องซื้อกรมธรรม์ประกันภัยก่อนที่จะยื่นจดทะเบียน เนื่องจากกรมธรรม์ฯเป็นเอกสารที่จำเป็นเมื่อคุณยื่นใบสมัครทางออนไลน์


ตามที่กล่าวไว้ในข้อจำกัดความรับผิดชอบในต้นโพสต์นี้ กระบวนการขอใบอนุญาต กสทช. ได้ดำเนินการทางออนไลน์แล้ว (เมื่อเดือนเมษายน 2564)

ถ้าคุณเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีเพื่อทำการพรินต์ สแกน และยื่นสมัครออนไลน์ กสทช.ในกรุงเทพฯได้จัดตั้งที่ทำงานที่สำนักงานเพื่อให้คุณได้กรอกใบสมัครได้ที่นี่ นี่คือสิ่งที่ผมทำกับการยื่นขอใบอนุญาตล่าสุด:

ที่ทำการพรินต์ สแกน อัปโหลดเพื่อยื่นใบสมัครออนไลน์กับกสทช. (ที่สำนักงานใหญ่กสทช.กรุงเทพฯ)
ที่ทำการพรินต์ สแกน อัปโหลดเพื่อยื่นใบสมัครออนไลน์กับกสทช. (ที่สำนักงานใหญ่กสทช.กรุงเทพฯ)

ผมชอบบินโดรนในประเทศไทย ทำให้ผมได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ในเรื่องต่าง ๆ ที่ทำให้ผมมีความสุขกับการใช้ชีวิตและเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย


ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม


หากคุณมีคำถามใดๆ โปรดส่งอีเมลถึงผมผ่านทางหน้าติดต่อของผมได้ที่นี่