การขอใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ (IDP) ในกรุงเทพฯเป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่ายถ้าคุณจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นจำนวนมหาศาลก่อนที่จะดำเนินการ การมีใบขับขี่สากลจะเป็นประโยชน์อย่างมากถ้าคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทยและต้องการเช่ารถขณะเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ
สรุป
ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม
ใบอนุญาตขับขี่สากลคืออะไร
ใบอนุญาตขับขี่สากลหรือเรียกย่อ ๆ ว่าใบขับขี่สากล (IDP) เป็นใบอนุญาตขับขี่ที่อนุญาตให้ผู้ถือใบอนุญาตสามารถขับขี่ยานพาหนะในประเทศภาคีที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน หรือ อนุสัญญาเจนีวา ปี 1949 ทั้งหมด 83 ประเทศ
มีบริษัทเอกชนออนไลน์หลายแห่งที่ให้บริการทำใบขับขี่สากลในรูปแบบต่าง ๆ แต่ก็มีเหตุผลมากมายที่เราไม่ควรที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อใช้บริการหรือขอเอกสารเหล่านี้
ประการแรก ถ้าคุณพบว่าตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์คับขันที่จะต้องมีตำรวจ และ/หรือประกันภัยในขณะขับรถในต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ออกใบขับขี่ให้ คุณก็ต้องจำยอมจ่าย
ประการที่สอง ใบอนุญาตที่เป็นทางการมีเพียงแบบเดียวซึ่งได้ครอบคลุมอยู่ในรูปแบบแล้ว ผู้ให้บริการออนไลน์จำนวนมากที่ขายบริการรับทำใบขับขี่สากลนั้นมักจะทำเลียนแบบใบอนุญาตที่เป็นทางการจนดูคล้ายกันมาก แต่สำหรับคนที่คุ้นเคยกับรูปแบบใบขับขี่ที่เป็นทางการก็จะรู้ว่าอันไหนของจริงอันไหนของปลอม
รูปแบบที่เป็นทางการอาจไม่ใช่รูปแบบที่ดูสวยงามนัก
ใบขับขี่สากลจะมีหน้าที่ไม่ใช่แบบชีวมิติที่มีตราประทับอย่างเป็นทางการของหน่วยงานที่สามารถออกใบอนุญาตได้สำหรับยานพาหนะประเภทต่าง ๆ ผมไม่ได้นำประเภทยานพาหนะทั้งหมดมาแสดงไว้ตรงนี้ แต่ถ้าคุณอยากรู้ คุณสามารถค้นหาได้ที่นี่ว่าครอบคลุมยานพาหนะประเภทไหนบ้าง
ถ้าในกรณีที่คุณกำลังอ่านบทความนี้และต้องการจะเดินทางเร็ว ๆ นี้ ด้วยใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะในประเภท A และ B ซึ่งจะเป็นรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามรูปใบขับขี่ของผมที่แสดงข้างต้น คุณก็สามารถขับไปได้แทบจะทุกที่ในโลก
ใครสามารถขอใบขับขี่สากลได้บ้าง?
ส่วนนี้จะเป็นหัวใจหลักเพราะไม่ใช่ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะขอใบขับขี่สากลในประเทศไทยได้ หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ในประเทศไทยนั้น ข้อกำหนดเบื้องต้นไม่มีอะไรมาก คือ
- พลเมืองไทยที่มีใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลที่ยังไม่หมดอายุและบัตรประจำตัวประชาชน
- ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลของประเทศไทย
เป็นที่น่าสังเกตคือ ในส่วนของ”ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล” จะเป็นใบอนุญาตขับขี่ “ชั่วคราว” อายุสองปีสำหรับผู้ขอใบอนุญาตใหม่ทุกคน เมื่อผ่านพ้นไปสองปีแล้ว คุณก็สามารถต่ออายุเป็น”ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล”มีอายุห้าปี ซึ่งใช้กับใบขับขี่ทั่วไปทุกประเภททั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์
นี่คือหน้าตาของใบอนุญาตขับขี่แบบ 5 ปี
ถ้าคุณมีคุณสมบัติเบื้องต้นตรงตามที่กำหนด คุณก็สามารถขอใบขับขี่สากลรายปีในกรุงเทพฯได้โดยทำตามข้อกำหนดเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ของกรมการขนส่งทางบก
เอกสารที่จำเป็นสำหรับการขอใบอนุญาตขับขี่สากล (IDP)
เช่นเดียวกับกระบวนการที่ยุ่งยากของระบบราชการไทย การขอใบขับขี่สากลจึงจำเป็นต้องเตรียมเอกสารจำนวนมหาศาลเช่นกัน
ซึ่งคล้ายกับกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการยื่นขอเอกสารในประเทศไทย เช่น การขอทะเบียนบ้าน ทางที่ดีคุณควรจะเตรียมไปเผื่อดีกว่า.
สิ่งที่ต้องเตรียม:
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ทางราชการออกให้
- สำหรับพลเมืองไทย ใช้บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางไทย
- สำหรับผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย ต้องใช้หนังสือเดินทางตัวจริง
- เอกสารยืนยันถิ่นพำนักที่เป็นทางการ
- สำหรับพลเมืองไทย สามารถใช้บัตรประชาชน และ/หรือทะเบียนบ้าน
- สำหรับผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย คุณสามารถขอหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ของคุณในประเทศไทยจากสถานทูตของคุณ ขอใบสำคัญถิ่นที่อยู่จากกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือนำทะเบียนบ้านเล่มเหลือง ของคุณไป เอกสารจะต้องเป็นต้นฉบับและเป็นฉบับปัจจุบัน อย่างน้อยที่สุดต้องไม่เกินหกเดือนก่อนวันที่ที่ยื่นขอใบขับขี่สากล
- หลักฐานการอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทย
- เอกสารนี้ใช้เฉพาะสำหรับผู้พำนักที่ไม่มีสัญชาติไทยในการขอใบอนุญาตขับขี่สากล (IDP) คุณจะต้องแสดงการตรวจลงตรา (วีซ่า) ล่าสุด หรือสมุดผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย
- ใบอนุญาตขับขี่ 5 ปี หรือ ใบอนุญาตขับขี่ตลอดชีพ
- สำหรับคนไทยและคนต่างชาติ คุณจะต้องนำใบอนุญาตขับขี่ 5 ปีฉบับจริงมาด้วย ถ้าคุณเป็นคนไทยที่มีใบขับขี่ตลอดชีพ ก็ใช้ได้
- รูปถ่ายขนาด 2″x2″ (5 ซม. x 5 ซม.) ถ่ายมาไม่เกินหกเดือนสองรูป
- รูปที่ถ่ายควรเป็นแบบหนังสือเดินทาง คือ พื้นขาว ไม่สวมแว่น
- ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมในการออกใบขับขี่สากล (IDP) ในประเทศไทยคือ 505 บาท (ประมาณ 15 ดอลลาร์) มีอายุหนึ่งปีนับจากวันที่ออก
คุณจะต้องนำเอกสารต้นฉบับตามที่ระบุข้างต้นพร้อมด้วยสำเนาหนึ่งชุดแนบพร้อมกับใบสมัครของคุณ ถ้าคุณไม่ได้เตรียมสำเนามาด้วย ที่ชั้นล่างของสำนักงานกรมการขนส่งฯส่วนใหญ่จะมีร้านถ่ายเอกสารซึ่งจะรู้ดีว่าคุณต้องใช้สำเนาใดบ้าง ร้านถ่ายฯจะคิดค่าถ่ายหน้าละประมาณ 2 บาทสำหรับเอกสารขาวดำ
ขอใบขับขี่สากล (IDP) ได้ที่ไหนในกรุงเทพฯ
คุณสามารถขอใบอนุญาตขับขี่สากลได้ที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบกได้ทุกเขตพื้นที่ คุณสามารถค้นหาคำว่า “กรมการขนส่งทางบก” ใน Google หรือตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของทางกรมฯได้ที่นี่ https://www.dlt.go.th/
ผมได้ต่ออายุใบขับขี่ของผมที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบกเขตพื้นที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิทใกล้กับสถานี BTS บางจาก ข้อดีประการหนึ่งคือ ถ้าคุณขับรถไปที่กรมการขนส่งทางบกเอง ก็จะมีที่จอดรถฟรีอย่างเหลือเฟือ
เคล็ดลับและคำแนะนำในการขอใบขับขี่สากลได้โดยง่ายดาย
เช่นเดียวกับหน่วยราชการไทยอื่น ๆ ยกเว้นแต่คุณจะเจอบริการแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว ที่จามจุรีสแควร์ มิเช่นนั้นแล้วทางที่ดีคุณควรจะจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นให้พร้อมและจัดเอกสารอย่างเป็นระเบียบและเรียงลำดับตามที่ผมได้เขียนไว้ข้างต้น
เจ้าหน้าที่ที่กรมการขนส่งทางบกจะเคร่งครัดเรื่องกฎระเบียบมาก จากประสบการณ์ของผมนั้น พวกเขาจะไม่ยอมยืดหยุ่นหรือยกเว้นกับเอกสารที่จำเป็นใด ๆ ถ้าคุณขาดเอกสารแม้เพียงฉบับเดียว พวกเขาจะไม่สนใจใด ๆ ทั้งสิ้น โดยจะให้คุณกลับไปเอาแล้วมาใหม่ในวันอื่น
เรื่องสุดท้ายคือ ความสามารถด้านภาษาอังกฤษในสำนักงานกรมการขนส่งทางบกค่อนข้างต่ำ การติดต่อจะง่ายยิ่งขึ้นถ้าคุณสามารถพูดภาษาไทยได้หรือพาคนที่พูดภาษาไทยได้ไปด้วย
เบ็ดเสร็จแล้ว ผมใช้เวลา 12 นาทีทำใบขับขี่ของผมเสร็จในปีนี้โดยไม่ต้องนัดหมาย โดยนับจากจอดรถจนถึงทางกรมฯพิมพ์ใบขับขี่ออกมา
ผมใช้ใบขับขี่สากล (IDP) เพื่อเช่ารถทั่วโลก แม้ว่าใบอนุญาตขับขี่ของไทยจะใช้ในการเช่ารถได้ในบางประเทศที่ยอมรับใบขับขี่ที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็ควรจะเตรียมสิ่งที่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการระดับสากลเพื่อการเดินทางที่ราบรื่นยิ่งขึ้น
ถ้าคุณเห็นว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์และต้องการที่จะสนับสนุนงานของผม โปรดพิจารณาช่วยเหลือด้วยการมอบค่าทิปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผม